ThaiEnglish (UK)

มรรยาททนายความต่อตัวความที่พึงปฎิบัติ ตามข้อบังคับมรรยาททนายความ พ.ศ.2529 ได้แก่

  • - กระทำการใดอันเป็นการยุยงส่งเสริมให้มีการฟ้องร้องคดีกันในกรณีอันหามูลมิได้
  • - ใช้อุบายอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวต่อไปนี้ เพื่อจูงใจให้ผู้ใดมอบคดีให้ว่าต่าง หรือแก้ต่าง
  • - หลอกลวงให้เขาหลงว่าคดีนั้นจะชนะ เมื่อตนรู้สึกแก่ใจว่าจะแพ้
  • - อวดอ้างว่าตนมีความรู้ยิ่งกว่าทนายความคนอื่น
  • - อวดอ้างว่าเกี่ยวเป็นสมัครพรรคพวกรู้จักคุ้นเคยกับผู้ใดอันกระทำให้เขาหลงว่าตนสามารถจะทำให้เขาได้รับผลเป็นพิเศษนอกจากทางว่าความ หรือหลอกลวงว่าจะชักนำจูงใจให้ผู้นั้นช่วยเหลือคดีในทางใด ๆ ได้ หรือแอบอ้างขู่ว่าถ้าไม่ให้ตนว่าคดีนั้นจะหาหนทางให้ผู้นั้นกระทำให้คดีของเขาเป็นแพ้
  • - เปิดเผยความลับของลูกความที่ได้รู้ในหน้าที่ของทนายความ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากลูกความนั้นแล้ว หรือโดยอำนาจศาล
  • - กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวต่อไปนี้ อันอาจทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ของลูกความ
  • - จงใจขาดนัด หรือทอดทิ้งคดี
  • - จงใจละเว้นหน้าที่ที่ควรกระทำอันเกี่ยวแก่การดำเนินคดีแห่งลูกความของตน หรือปิดบังข้อความที่ควรแจ้งให้ลูกความทราบ
  • - ได้รับปรึกษาหารือ หรือได้รู้เรื่องกรณีแห่งคดีใดโดยหน้าที่อันเกี่ยวข้องกับคู่ความฝ่ายหนึ่งแล้วภายหลังไปรับเป็นทนายความหรือใช้ความรู้ที่ได้มานั้นช่วยเหลือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นปรปักษ์อยู่ในกรณีเดียวกัน
  • - ได้รับเป็นทนายความแล้ว ภายหลังใช้อุบายด้วยประการใด ๆ โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร เพื่อจะให้ตนได้รับประโยชน์นอกเหนือจากที่ลูกความได้ตกลงสัญญาให้
  • - กระทำการใดอันเป็นการฉ้อโกง ยักยอก หรือตระบัดสินลูกความ หรือครอบครอง หรือหน่วงเหนี่ยว เงินหรือทรัพย์สินของลูกความที่ตนได้รับมาโดยหน้าที่อันเกี่ยวข้องไว้นานเกินกว่าเหตุ โดยมิได้รับความยินยอมจากลูกความ เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควร

  • 1. ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย15 ปี
  • 2. ผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องให้ความยินยอมด้วย ประโยชน์ที่เกิดจากการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
  • 3. กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ จะต้องได้รับความยินยอมจาก
  • 3.1 บิดาและมารดา กรณีที่มีทั้งบิดาและมารดา
  • 3.2 บิดาหรือมารดา กรณีที่มารดาหรือบิดาตาย หรือถูกถอนอำนาจการปกครอง
  • 3.3 กรณีไม่มีผู้ให้ความยินยอม ผู้แทนโดยชอบธรรมหรืออัยการจะร้องขอต่อศาล ให้มีคำสั่งให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมแทนได้
  • 3.4 กรณีผู้เยาว์ถูกทอดทิ้งและอยู่ในความดูแลของสถานพยาบาลหรือสถาบัน ซึ่งทางราชการหรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นรับรองในการจัดตั่งขึ้น หรืออยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบุคคลใดมาเป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 1 ปีต้องได้รับความยินยอมของผู้รับผิดชอบในกิจการสถานพยาบาล หรือของบุคคลดังกล่าว
  • 4. ผู้จะรับบุตรบุญธรรม หรือผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อนแต่หากมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้ ต้องร้องขอต่อศาลให้มีคำอนุญาตแทนคือ
  • 4.1คู่สมรสไม่สามารถแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้
  • 4.2คู่สมรสไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครได้รับข่าวคราวเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี
  • 5. ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่ จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้เว้นแต่จะเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น
  • อ่านเพิ่มเติม: การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

    1. เงินสด เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นคำร้อง ได้แก่

    1. บัตรประชาชนของนายประกันและจำเลยพร้อมสำเนา 1 ชุด
    2. ทะเบียนบ้านของนายประกันและจำเลยพร้อมสำเนา 1 ชุด

    2. โฉนดที่ดิน หรือห้องชุด เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นคำร้องได้แก่

    1. บัตรประชาชนของนายประกันและจำเลยพร้อมสำเนา 1 ชุด
    2. ทะเบียนบ้านของนายประกันและจำเลยพร้อมสำเนา 1 ชุด
    3. หนังสือรับรองราคาประเมินที่ดิน ไม่เกิน 1 เดือน
    4. แผนที่ตั้งของโฉนดที่ดิน
    5. รูปถ่ายที่ตั้งของที่ดิน

    อ่านเพิ่มเติม: หลักฐานที่ใช้ในการขอประกันตัวในคดีอาญา

    เมื่อเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลาย ต่างก็มองหาสถานที่ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ( ปริญญาตรี ) ผู้ที่สนใจกฎหมาย อยากเป็นนักกฎหมาย ก็จะเลือกศึกษาต่อในศาสตร์นี้ โดยเริ่มจากการเอนทรานซ์เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยปิดของรัฐ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฯ หรือหากไม่ได้เอนทรานซ์ก็จะไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเปิด เช่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หรือมหาวิทยาลัยตลาดวิชา คือมหาวิทยาลัยรามคำแหง ตลอดทั้งมหาวิทยาลัยเอกชน และสถาบันอื่นๆที่ได้เปิดหลักสูตรนิติศาสตร์ขึ้นมา เริ่มแรกก็มาดูหลักสูตรนิติศาสตร์ ในชั้นปริญญาตรีก่อนว่าจะจบปริญญาตรี และได้รับ ปริญญาที่ชื่อว่า นิติศาสตรบัณฑิต อักษรย่อคือ น.บ. นั้นคนจะเป็นนักกฎหมายต้องผ่านหลักสูตรและเนื้อหาต่างๆ กันมาอย่างไร สำหรับตัวอย่างที่นำมานำเสนอจะยกของ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยผู้เรียนต้องศึกษากฎหมายในกลุ่มวิชาบังคับ 93 หน่วยกิต ซึ่งได้แก่

    อ่านเพิ่มเติม: กว่าจะเป็นนักกฎหมาย

    1.สิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหา
    ผู้ต้องหา คือ บุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิดอาญา แต่มิได้ถูกฟ้องต่อศาล
    ในระหว่างนี้ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาดังนี้

    1. สิทธิที่จะไม่ถูกจับกุมโดยไม่มีเหตุอันสมควร
    2. สิทธิที่จะได้รับแจ้งให้ทราบว่าถ้อยคำที่ผู้ต้องหากล่าวนั้นอาจเป็นพยานหลักฐานยันเขาในการพิจารณาได้
    3. สิทธิที่จะไม่ตอบคำถามของเจ้าพนักงานสอบสวนเว้นแต่คำถามที่ถามชื่อ หรือที่อยู่ของบุคคลนั้นเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายหรือตอบคำถามที่เป็นผลเสียแก่ตนเอง หรือให้การในชั้นสอบสวน
    4. สิทธิที่จะได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็วต่อเนื่องและเป็นธรรม
    5. สิทธิพบและปรึกษาผู้ที่จะเป็นทนายความสองต่อสอง
    6. สิทธิที่จะให้ทนายความหรือซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำของตนได้
    7. สิทธิที่จะได้รับการเยี่ยมตามสมควร
    8. สิทธิที่จะไม่ถูกบังคับ ขู่เข็ญ ทรมาน หรือใช้วิธีหลอกลวงให้รับสารภาพ
    9. สิทธิที่จะได้รับการพยาบาลโดยเร็วเมื่อเจ็บป่วย
    10. สิทธิในการขอประกันต้องได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็วกรณีไม่ได้ประกันต้องได้รับแจ้งเหตุผลให้ทราบโดยเร็ว
    11. สิทธิที่จะอุทธรณ์คัดค้านการไม่ให้ประกันตัว
    12. สิทธิที่จะร้องต่อศาลท้องทีที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญาว่าการคุมขังเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย
    13. สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐด้วยการจัดหาทนายความให้
    14. สิทธิที่จะขอทราบสรุปพยานหลักฐานพร้อมความเห็นของพนักงานสอบสวนและอัยการในการสั่งคดีในคดีอาญาที่พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี

    อ่านเพิ่มเติม: สิทธิของผู้ต้องหา และของจำเลย

    1. กรณีบุตรกับบิดา/มารดา หรือบิดา / มารดากับบุตร

    • 1.1 ใบสำคัญการสมรส หรือใบสำคัญการหย่าของบิดามารดา ( กรณีสูญหายใช้สำเนาทะเบียนการสมรสหรือสำเนาทะเบียนการหย่าที่รับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง )
    • 1.2 สูติบัตรของบุตร ( กรณีสูญหายใช้สำเนาทะเบียนคนเกิดที่รับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องแทนหรือสำเนาทะเบียนบ้านของบุตรที่ระบุเลขประจำตัวประชาชนของบิดาหรือมารดา ( กรณีไม่มีเลขประจำตัวประชาให้ติดต่อสำนักงานเขตตามสำเนาทะเบียนบ้านเพื่อระบุ ) หรือทะเบียนการรับรองบุตรหรือทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม
    • 1.3 บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้องและผู้ตาย
    • 1.4 มรณบัตรของผู้ตาย (กรณีสูญหายใช้สำเนาทะเบียคนตายที่รับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง หรือแบบรับรองรายการทะเบียนคนตายแทน )
    • 1.5 สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ตาย ( กรณีสูญหายใช้แบบรับรองรายการ ทะเบียนราษฎรแทน )
    • 1.6 หลักฐานเกี่ยวกับมรดกของผู้ตาย เช่นโฉนดที่ดิน หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด เงินฝาก ฯลฯ ( กรณีที่ดินหรือห้องชุดจดทะเบียนจำนองไว้ ใช้สำเนาโฉนดที่ดินหรือสำเนาหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดที่รับรองสำเนาถูกต้อง โดยเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องแทน )
    • 1.7 บัญชีทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก ( ระบุให้ชัดเจน )
    • 1.8 หนังสือให้ความยินยอมของทายาทผู้มิสิทธิรับมรดก พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านที่รับรองสำเนาถูกต้องโดยทายาทดังกล่าว ( กรณีทายาทเป็นผู้เยาว์ใช้สูติบัตร )
    • 1.9 มรณบัตรของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกที่ถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย เช่น บิดา มารดา คู่สมรส บุตร ฯลฯ ( กรณีสูญหายใช้หนังสือรับรองการตาย หรือสำเนามรณบัตรที่รับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องแทน
    • 1.10 หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อหรือสกุลของผู้ร้องหรือผู้ตายหรือทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก

    อ่านเพิ่มเติม:  เอกสารที่ใช้ในการไต่สวนคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก

    เช็ค คือตั๋วเงินประเภทหนึ่งในสามประเภท อันได้แก่ ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็ค หากจะกล่าวโดยเฉพาะความหมายของเช็ค ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 21 หมวด 4 เช็ค มาตรา 987 ได้ให้คำจำกัดความของเช็คไว้ว่า
    " อันว่าเช็คนั้นคือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่ายสั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง อันเรียกว่าผู้รับเงิน "
    ประเภทของเช็ค

    1. เช็คจ่ายผู้ถือหรือที่นิยมเรียกกันว่า "เช็คผู้ถือ" คือเช็คที่ทางธนาคารต่าง ๆออกแบบไว้เพื่อจุดประสงค์ให้ผู้สั่งจ่ายเช็คโดยระบุชื่อผู้รับเงินหรือจะไม่ระบุชื่อผู้รับเงิน และยังครอบคลุมถึงเช็คที่ระบุชื่อผู้รับเงินแต่ก็มีคำว่า "ผู้ถือ" รวมอยู่ด้วย
    2. เช็คระบุชื่อ เป็นเช็คที่ผู้สั่งจ่ายเขียนขึ้นเพื่อสั่งธนาคารให้จ่ายเงินโดยระบุชื่อผู้รับเงิน หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลนั้นเท่านั้น

    อ่านเพิ่มเติม: เช็ค..เด้งแล้วเป็นไง ???

    จะทำพินัยกรรม ... ทำอย่างไรดี ...

    การทำพินัยกรรมเป็นการแสดงเจตนากำหนดว่าถ้าตายไปแล้วทรัพย์สินจะตกได้แก่ผู้ใดรวมทั้งกำหนดการเผื่อตายในเรื่องอื่นๆที่อาจจะไม่ใช่ทรัพย์สินก็ได้ เช่น กำหนดว่าให้ใครเป็นผู้จัดการทรัพย์มรดก หรือกำหนดในเรื่องการทำศพ หรือยกศพของตนให้โรงพยาบาล หรือตัดไม่ให้ลูกของตนได้รับมรดกเป็นต้น อายุของผู้ที่ต้องการทำพินัยกรรม นั้นกฎหมายกำหนดไว้ว่า อายุต้องครบ 15 ปี บริบูรณ์ถึงจะสามารถทำพินัยกรรมได้ ส่วนอายุจะมากสักเท่าไรหากสติสัมปะชัญญะดีก็สามารถทำได้ตลอด
    การทำพินัยกรรมกฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่า จะยกให้ได้แต่เฉพาะทายาทเท่านั้นนะครับผู้ทำพินัยกรรมยังสามารถยกให้กับผู้ใดก็ได้ เช่นยกให้กับพยาบาลที่ดูแลปรนนิบัติตอนเจ็บป่วยเป็นอย่างดี ( น้อยใจบุตร ) หรือยกทรัพย์สมบัติให้กับหมอที่ทำการรักษา หรือให้กับ สาวใช้ที่บ้านก็ได้ครับ หรืออาจยกให้กับนิติบุคคลตามกฎหมายก็ได้ อาทิเช่น ยกทรัพย์สินให้แก่วัดหรือให้แก่มูลนิธิต่างๆเป็นต้น การทำพินัยกรรมนั้น มีวิธีการทำอยู่สองวิธี คือ ทำแบบเอกสารฝ่ายเมือง หรือแบบพินัยกรรมที่ทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ การทำแบบเอกสารฝ่ายเมืองนั้นผู้ประสงค์จะทำพินัยกรรมต้องเตรียมเอกสารประกอบการทำพินัยกรรมไปให้พร้อม เช่นสำเนาบัตรประชาชนสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง ซึ่งได้แก่ โฉนดที่ดิน นส.๓ นส.๓ก. ใบหุ้น ทะเบียนรถยนต์ ทะเบียนอาวุธปืน เป็ฯต้น โดยสามารถไปติดต่อเพื่อขอทำพินัยกรรมได้ณ.ที่ สำนักงานเขต หรือ ที่ว่าการอำเภอ ต่อนายทะเบียนปกครองโดยเสียค่าคำร้อง 50 บาท กรณีทำในสำนักงานหรือที่อำเภอ หากทำนอกสำนักงาน ก็เสีย ๑๐๐ บาท และค่าคู่ฉบับ อีก 10 บาท ซึ่งจะมีแบบของพินัยกรรมให้ผู้ประสงค์จะทำพินัยกรรมได้กรอกข้อความ ซึ่งหลังจากที่ทำพินัยกรรมแบบนี้แล้วทางนายทะเบียนก็จะอ่านข้อความว่าถูกต้องตรงตามเจตนาหรือไม่และนายทะเบียนจะลงชื่อพร้อมประทับตราตำแหน่งไว้ หากมองข้อดีของการทำพินัยกรรมแบบนี้คงจะเป็นเรื่องที่ได้ทำพินัยกรรมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งความระแวงเรื่องการปลอมแปลงหรือพินัยกรรมปลอมอาจหมดปัญหาไป แต่ไม่ได้หมายความว่าเมื่อทำพินัยกรรมแบบนี้แล้วผู้ทำพินัยกรรมจะเปลี่ยนแปลงเจตนาจะยกทรัพย์สินของตนเองให้บุคคลอื่นอีกไม่ได้เพราะว่าพินัยกรรมนั้นไม่ว่าจะทำแบบวิธีไหน ก็อาจถูกยกเลิกได้โดยผู้ทำพินัยกรรมยกเลิกเองหรือทำพินัยกรรมฉบับใหม่แทนฉบับเดิมดังนั้นวันที่ทำพินัยกรรมจึงมีความสำคัญมาก ครับ สำหรับพินัยกรรมที่ผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะทำเองหรือเรียกว่าการทำพินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ ( อาจใช้พิมพ์ก็ได้ ) พินัยกรรมที่ผู้ทำพินัยกรรมทำเองควรมีสาระอะไรบ้าง ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยพินัยกรรมซึ่งวางหลักการทำพินัยกรรมไว้ว่าการทำพินัยกรรม ต้องระบุวันที่ทำพินัยกรรมและผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะยกทรัพย์สินหรือ สิทธิต่าง ๆ ที่ตนมีอยู่ให้กับผู้ใดหรือแก่นิติบุคคลใด และประสงค์ให้ใครทำอะไร หรืออยากให้ใครเป็นผู้จัดการทรัพย์มรดกของตนก็ ต้องกำหนดให้ชัดเจนจะได้ไม่มีปัญหาภายหลังจากที่ผู้ทำพินัยกรรมเสียชีวิตไปแล้ว และที่สำคัญต้องระบุว่าผู้ทำพินัยกรรมได้ทำพินัยกรรมในขณะที่มีสติสัมปะชัญญะดีมีร่างกายแข็งแรง,สมบูรณ์ และการทำพินัยกรรมเป็นไปตามความประสงค์ของตนเอง เสร็จแล้วผู้ทำพินัยกรรมก็ลงลายมือชื่อหรือหากลงลายมือชื่อไม่ได้ก็ต้องประทับลายพิมพ์นิ้วมือให้ชัดเจนพร้อมมีพยานลงลายมือชื่อรับรองการทำพินัยกรรมอย่างน้อยสองคน...และข้อสำคัญของผู้เขียนหรือพยานที่มารับรองลายมือชื่อต้องเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะไม่เป็นคนวิกลจริตหรือคนเสมือนไร้ความสามารถหรือเป็นคนหูหนวกหรือเป็นใบ้หรือตาบอดสองข้างและต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียกับทรัพย์มรดกของผู้ทำพินัยกรรมรวมตลอดถึงคู่สมรสด้วย มิเช่นนั้นพินัยกรรมอาจเป็น โมฆะคือสูญเปล่าเสมือนว่าไม่ได้ทำพินัยกรรมกันเลย นะครับ หากเป็นเช่นนั้นทรัพย์มรดกก็จะตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามกฎหมายต่อไป

    อ่านเพิ่มเติม:  การจัดทำพินัยกรรม

    ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๕๑๖ นั้น คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพื่อให้หย่าได้นั้น ต้องมีเหตุต่อไปนี้

    (๑) สามีหรือภริยา อุปการะเลี้ยงดู หรือ ยกย่อง ผู้อื่น ฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้ หรือ มีชู้ หรือ ร่วมประเวณีกับ ผู้อื่น เป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่าได้
    (๒) สามีหรือภริยา ประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้น จะเป็น ความผิดอาญา หรือไม่ ถ้า เป็นเหตุให้ อีกฝ่ายหนึ่ง
    (ก) ได้รับ ความอับอายขายหน้า อย่างร้ายแรง
    (ข) ได้รับ ความดูถูกเกลียดชัง เพราะเหตุที่ คงเป็น สามีหรือภริยา ของฝ่ายที่ประพฤติชั่ว อยู่ต่อไป หรือ
    (ค) ได้รับ ความเสียหาย หรือ เดือนร้อนเกินควร ในเมื่อเอา สภาพ ฐานะ และ ความเป็นอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยา มาคำนึงประกอบอีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
    (๓) สามีหรือภริยา ทำร้าย หรือ ทรมาน ร่างกายหรือจิตใจ หรือ หมิ่นประมาท หรือ เหยียดหยาม อีกฝ่ายหนึ่ง หรือ บุพการี ของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้า เป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
    (๔) สามีหรือภริยา จงใจละทิ้งร้าง อีกฝ่ายหนึ่งไป เกิน หนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้

    อ่านเพิ่มเติม: เหตุแห่งการฟ้องหย่า

    ปัจจุบัน การเดินทางไปมาในกรุงเทพมหานครคงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าไม่เคยเจอรถยนต์ติดเลย ปัญหารถติดเป็นปัญหาที่เกิดมาทับถมหลายสิบปีแล้ว ทำให้คนวัยทำงานหลายคน ตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยใกล้ที่ทำงาน ซึ่งส่วนมากมักจะซื้อที่อยู่อาศัยที่เป็นคอนโด เข้าใจว่าน่าจะเป็นเพราะราคาถูกกว่าซื้อบ้าน แต่ขณะเดียวกันการที่ท่านอาศํยอยู่ในคอนโดท่านก็มีกฏหมาย ข้อบังคับที่ให้ท่านปฏิบัติ โดยคนที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุมผู้พักอาศัยให้ปฏิบัติตามข้อบังคับ ก็คือ ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด นั่นเอง ซึ่งผมจะพูดเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่นิติบุคคลอาคารชุดว่า เขามีอำนาจหน้าที่อะไรบ้าง

    อ่านเพิ่มเติม: กฎหมายที่คนอยู่คอนโดต้องรู้